9สมุนไพร จัดการ”ริดสีดวง”หายขาด!

 

       ทบทุกคนคงผ่านการเป็น ริดสีดวงทวาร กันมาบ้าง เป็นโรคที่พบบ่อยมาก มีสาเหตุจากหลายปัจจัย และเมื่อเกิดอาการก็เพิ่มความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก อย่าปล่อยให้มันอยู่กับเรานานเกินไปครับ เพราะนอกจากตัวยาและการฉีดรักษาแล้ว ยังมีวิธีแก้ให้หายขาดด้วยสมุนไพรไทยของเราหลายชนิดเริ่มจาก 

ว่านหางจระเข้-ขลู่

 

- ว่านหางจระเข้ ทำความสะอาดก้นให้สะอาดและแห้ง หลังจากอุจจาระ อาบน้ำ หรือก่อนนอน ปอกส่วนนอกของใบว่าน เหลาให้ปลายแหลมเล็กน้อยเพื่อใช้เหน็บในช่องก้น ถ้าจะให้เหน็บง่ายควรนำไปแช่ตู้เย็นให้วุ้นว่านแข็งตัวพอที่จะสอดได้ง่ายขึ้น และเหน็บวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย             

- ขลู่ ใบของต้นขลู่มีกลิ่นหอม นำมาต้มเป็นชาขลู่ดื่ม หรือใช้เปลือกต้นต้มน้ำให้ไอรมก้นลดอาการอักเสบ ทั้งเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคนิ่ว  ช่วยย่อยอาหาร และรักษาริดสีดวงจมูกได้ด้วย

อัคคีทวาร-หญ้าขัดหลวง

- หญ้าขัดหลวง นำราก 150 กรัม ต้มพอเดือด คั้นเอาแต่น้ำข้นๆดื่ม 1 ถ้วยชา ที่เหลือนำไปอุ่นเพื่อให้มีไอไว้รมที่ก้นพออุ่นๆ รมวันละ 5-6 ครั้ง จากนั้นล้างแผลด้วยน้ำอุ่น

- อัคคีทวาร นำรากหรือต้นยาว 1-2 นิ้ว ฝนกับน้ำปูนใส นำมาทาที่ริดสีดวงทวาร หรือนำใบ 10-20 ใบ ตากแห้ง บดให้เป็นผง คลุกกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็นเม็ด กินครั้งละ 2-4 เม็ด ทุกวันติดต่อกัน 7-10 วัน แต่ถ้าสะดวกใช้ใบแห้งป่นเป็นผง โรยในถ่านไฟ เผาเอาควันรมหัวริดสีดวงที่งอก มันจะค่อยๆยุบและหดหายไปเอง

 

กระเจี๊ยบ-เพชรสังฆาต

- เพชรสังฆาต : ใช้เพชรสังฆาตสด 1 ปล้อง หั่นเป็นข้อเล็กๆ แล้วหุ้มด้วยกล้วยสุก หรือมะขามเปียก แล้วกลืนวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าเย็น ติดต่อกัน 10-15 วัน ริดสีดวงจะค่อยๆ บรรเทาและหายในที่สุด

- กระเจี๊ยบ ช่วยหล่อลื่น ลดการอักเสบ โดยกินเป็นผักในปริมาณมากๆ ต่อเนื่องเป็นประจำ

 

ย่านาง-เหงือกปลาหมอ

- ย่านาง ใช้รากสดหรือแห้ง 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3-4 แก้ว ต้มเดือด 30 นาที ดื่มแทนน้ำครั้งละ 1 แก้ว

- เหงือกปลาหมอ  มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ใช้กับพริกไทยในสัดส่วน 2 : 1 ตากแห้ง ตำผง ผสมน้ำผึ้ง ทำเป็นลูกกลอน กินครั้งละ 1-2 เม็ด ก่อนอาหาร วันละครั้ง และ

 

ไผ่รวก+ราก

ไผ่รวก เป็นยาเย็น นำต้นและรากอย่างละ กำมือ ใส่น้ำพอท่วมยา เติมเกลือแกงเล็กน้อย พอให้มีรสเค็ม ดื่มแทนน้ำ หรือวันละ 4-5 แก้ว นาน 15 วัน

อย่างไรก็ตาม ริดสีดวงทวารเกิดขึ้นได้กับทุกๆคน ดังนั้น ใครที่ยังไม่เป็นโรคนี้ก็ควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี หรือหากใครที่เป็นอยู่แล้วก็พยายามดูแลตัวเองรวมทั้งรักษาให้ถูกวิธีด้วย ซึ่งเราก็มีคำแนะนำเบื้องต้น และวิธีป้องกัน

- กินอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ต่างๆ ข้าวกล้อง ถั่ว น้ำลูกพรุน เม็ดลูกพรุน เพื่อให้การขับถ่ายคล่องตัวและไม่เสี่ยงกับอาการท้องผูก

- ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8-10 แก้ว เพราะน้ำมีส่วนช่วยให้กากอาหารอ่อนตัว ช่วยให้อาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ได้สะดวกขึ้น 

- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะไม่เพียงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้มีการเคลื่อนที่ ทำให้สุขภาพแข็งแรงด้วย

- ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ กาแฟ ชา น้ำอัดลม เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ อุจจาระแข็ง และถ่ายลำบาก

- ไม่ควรกลั้นอุจจาระเป็นเวลานาน

- หลีกเลี่ยงการนั่งอุจจาระเป็นเวลานานๆ อย่านั่งอ่านหนังสือหรือเล่นมือถือไปด้วย

- ควรหลีกเลี่ยงการขัดถูบริเวณทวารหนักอย่างรุนแรง

            แหล่งที่มา : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากรพะราชดำริ,โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร