ขุมทรัพย์น้ำ (บาดาล) ใต้ดิน : ทางรอดความมั่นคงน้ำของชาติ

       ากความหวังไว้กับน้ำฝนอย่างเดียวไม่พอแล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอา กาศ (Climate Change)

      ปริมาณน้ำฝนน้อย การสูญเสียระหว่างทาง ตั้งแต่น้ำฟ้าลงมาจนถึงผิวดินเป็นน้ำท่าเก็บกักได้ราวๆ 60,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุกว่า 80,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ก่อนไหลซึมลงไปเป็นน้ำบาดาล 70,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เอามาใช้งานได้ราวๆ 45,000 ล้านลูกบาศก์เมตร มากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นกับปริมาณฝนแต่ละปีด้วย

      ประเทศไทยใช้น้ำบาดาลเฉพาะบางพื้นที่หรือบางสถานการณ์ เช่น พื้นที่นอกเขตชลประทาน พื้นที่แห้งแล้งมากเข้าไม่ถึงน้ำผิวดินหรือมีก็ไม่พอ เป็นบ่อบาดาลเอกชนขุดเจาะ 10,000 บ่อ เป็นของหน่วยงานรัฐ โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ขุดเจาะ 110,000 หน่วย และยังมีบ่อน้ำตื้นของเกษตรกรอีกจำนวนมาก เนื่องจากการขุดเจาะบ่อบาดาลมีต้นทุนสูง ดังนั้นอย่างภาคอีสาน ส่วนใหญ่เป็นบ่อบาดาลของโรงงานอุตสาหกรรม จึงไม่เคยมีข่าวว่าโรงงานอุตสาหกรรมอีสานขาดแคลนน้ำ ต่างจากภาคเกษตรกรรมที่ขาดแคลนทั้งน้ำกินน้ำใช้และน้ำทำกิน  เพราะราษฎรขาดแคลนทุนทรัพย์มาใช้ขุดบ่อบาดาลเอง ต้องร้องขอหน่วยราชการมาช่วยอย่างเดียว

      โมเดลรองรับปัญหาน้ำ คือการนำน้ำบาดาลมาเป็นตัวเสริม ซึ่งมั่นคงกว่าน้ำจากฝนหลวง ซึ่งมีข้อจำกัดจากเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ มากกว่า  แต่ก็เป็นทางเลือกด้วยกัน เมื่อน้ำผิวดินผชิญปัญหาปริมาณฝนน้อย

       ระดมน้ำจากทุกแหล่งมาเตรียมพร้อม จึงไม่แปลกว่า หนึ่งในกลยุทธ์ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) คือการดึงน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลมาใช้เสริมน้ำเขื่อน กระทั่งน้ำบาดาล เป็นส่วนงานที่คล้ายโลกลืมกลายๆ สทนช. บรรจงหยิบขึ้นมาปั้นแต่ง เพื่อตอบโจทย์น้ำอุปโภคบริโภคกระทั่งน้ำภาคการผลิต ไม่ว่าอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม

      ช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา มีคำขอบ่อน้ำบาดาลเข้ามามากมายดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช.กล่าว ที่ขอมากเพราะเดือดร้อนเรื่องน้ำ และรู้ว่า สทนช. กำลังช่วยผลักดันให้กรมทรัพยากรน้ำเพิ่มการขุดเจาะบ่อบาดาลด้วยงบกลาง จากเดิมกรมฯน้ำบาดาลขุดเจาะปีละ 1,000 บ่อ เป็น 2,500 บ่อ เป็นการสะท้อนแนวคิดของรัฐผ่าน สทนช. ว่า น้ำอุปโภคบริโภคเป็นเรื่องสำคัญ และในฤดูแล้ง 2562/2563 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอช.) จึงมีคำสั่งให้ยันน้ำอุปโภคบริโภคให้ได้ถึงเดือนมิถุนายน ก่อนเข้าฤดูฝน

        ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า หน่วยงานรับผิดชอบน้ำบาดาลหลักๆ เป็นกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ซึ่งมอบหมายให้ทำคู่มิอทั้งการขุดเจาะน้ำบาดาล  เพิ่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ทั้งพื้นที่เหมาะสม ปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำ และไม่แต่เพียงน้ำบาดาลเพื่ออุปโภคบริโภคเท่านั้น หากยังเป็นบ่อดาบาลเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำจำนวนมากๆ และส่งต่อไปยังพื้นที่ขาดแคลนหรือมีความต้องการ

      แต่การลงทุนที่สูง เช่นเดียวกับระบบสูบน้ำกลับของแหล่งน้ำผิวดิน เราจึงมีข้อกำหนดว่า ไม่ใช่เพื่อการปลูกข้าว เพราะไม่คุ้มในแง่เศรษฐกิจการลงทุน หากต้องเป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเท่านั้น

      แม้เพิ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการนำน้ำบาดาลมาเสริมน้ำเขื่อน แต่เชื่อว่าจะมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ และจะเป็นส่วนหนึ่งในการตอบโจทย์ความมั่นคงน้ำได้ดีขึ้น ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

Search Results

Web result with site linksขุดเจาะ 110,000 หน่วย และยังมีบ่อน้ำตื้นของเกษตรกรอีกจำนวนมาก เนื่องจากการขุดเจาะบ่อบาดาลมีต้นทุนสูง ดังนั้นอย่างภาคอีสาน ส่วนใหญ่เป็นบ่อบาดาลของโรงงานอุตสาหกรรม จึงไม่เคยมีข่าวว่าโรงงานอุตสาหกรรมอีสานขาดแคลนน้ำ ต่างจากภาคเกษตรกรรมที่ขาดแคลนทั้งน้ำกินน้ำใช้และน้ำทำกิน  เนื่องจากราษฎรขาดแคลนทุนทรัพย์มาใช้ขุดบ่อบาดาลเอง ต้องร้องขอหน่วยราชการมาช่วยอย่างเดียว      โมเดลรองรับปัญหาน้ำ คือการนำน้ำบาดาลมาเป็นตัวเสริม ซึ่งมั่นคงกว่าน้ำจากฝนหลวง ซึ่งมีข้อจำกัดจากเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ มากกว่า  แต่ก็เป็นทางเลือกด้วยกัน เมื่อน้ำผิวดินผชิญปัญหาปริมาณฝนน้อย     ระดมน้ำจากทุกแหล่งมาเตรียมพร้อม จึงไม่แปลกว่า หนึ่งในกลยุทธ์ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) คือการดึงน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลมาใช้เสริมน้ำเขื่อ       ช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา มีคำขอบ่อน้ำบาดาลเข้ามามากมายดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช.กล่าว ที่ขอมากเพราะเดือดร้อนเรื่องน้ำ และรู้ว่า สทนช.กำลังช่วยผลักดันให้กรมทรัพยากรน้ำเพิ่มการขุดเจาะบ่อบาดาลด้วยงบกลาง จากเดิมกรมฯน้ำบาดาลขุดเจาะปีละ 1,000 บ่อ เป็น 2,500 บ่อ เป็นการสะท้อนแนวคิดของรัฐผ่าน สทนช.ว่าน้ำอุป โภคบริโภคเป็นเรื่องสำคัญ และฤดูแล้ง 2562/2563 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมน ตรีในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอช.) จึงมีคำสั่งให้ยันน้ำอุปโภคบริโภคให้ได้ถึงเดือนมิถุนายน ก่อนเข้าฤดูฝน       ในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา มีคำขอบ่อน้ำบาดาลเข้ามามากมายดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช.กล่าว ที่ขอมามากเพราะเดือดร้อนเรื่องน้ำ และรู้ว่า สทนช. กำลังช่วยผลักดันให้กรมทรัพยากรน้ำเพิ่มการขุดเจาะบ่อบาดาลด้วยงบกลาง จากเดิมๆ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลขุดเจาะปีละ 1,000 บ่อ เป็น 2,500 บ่อ เป็นการสะท้อนแนวคิดของรัฐบาลผ่าน สทนช. ว่า น้ำอุปโภคบริโภคเป็นเรื่องสำคัญ และในฤดูแล้ง 2562/2563 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอช.) จึงมีคำสั่งให้ยันน้ำอุปโภคบริโภคให้ได้ถึงเดือนมิถุนายน ก่อนเข้าฤดูฝน

      

       กรมทรัพยากรน้ำบาดาล : ภาพ, ปรีชา อภิวัฒนกุล : เรื่อง